ระเบียบปฎิบัติ
1. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนใสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติิงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติิการสอนใสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งกายตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติิการสอนใสถานศึกษา 1 ต้งห้ามการการพนันอบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลา ปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
โครงการครูสหกิจ มรภ.จอมบึง
นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา
2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 5
4. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน
5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไป
สิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
จากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ
1 สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง
2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า
4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี
5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน
6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา
7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย
8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง
9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ
ระเบียบบการแต่งการของนักศึกษาฝึกประสบการณ์
1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู
2.เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย
3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใด๐ทั้งสิ้น
4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า
5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น
นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา
2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 5
4. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน
5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไป
สิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
จากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ
1 สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง
2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า
4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี
5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน
6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา
7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย
8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง
9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ
ระเบียบบการแต่งการของนักศึกษาฝึกประสบการณ์
1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู
2.เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย
3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใด๐ทั้งสิ้น
4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า
5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น
มาตราฐานวิชาชีพครู
มาตรฐาน วิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้านกล่าวคือ
1. มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ2. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน
มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการ ศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการ พัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
มาตรฐาน วิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้านกล่าวคือ
1. มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ2. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน
มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการ ศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการ พัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
ข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
1. แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
2. ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน
3. ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์ นิเทศก์อีกครั้งหนึ่ง
4. ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยฝึกสอนนั้นโดยเคร่งครัด
5. ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ที่นักศึกษาไปฝึกสอน
6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึกสอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์
7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์
1. แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
2. ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน
3. ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์ นิเทศก์อีกครั้งหนึ่ง
4. ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยฝึกสอนนั้นโดยเคร่งครัด
5. ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ที่นักศึกษาไปฝึกสอน
6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึกสอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์
7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)